
สำนักงาน สกร.ประจำจังหวัดระนอง
สวัสดีค่ะ! 😀
สามารถสอบถามผ่านช่องทางต่างๆ
คลิ๊ก/เลือกและส่งข้อความที่ต้องการ
*** อยู่ระหว่างพัฒนาเว็บไซต์ ***
ติดต่อสอบถาม
จุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘
๑. Quick Win ระยะเร่งด่วน (ภายใน ๖ เดือน)
๑.๑ “ล็อคเป้า เฝ้าฟื้นฟู” ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่หลุดออกจากระบบการศึกษา รวมถึงเด็กตกหล่นให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา (Zero Dropout)
๑) “ล็อคเป้า” ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ และชุมชน เพื่อสำรวจ ค้นหา และเก็บข้อมูลเด็กและเยาวชนที่หลุดออกจากระบบการศึกษารวมถึงเด็กตกหล่น รวมทั้งมีฐานข้อมูลเพื่อระบุตัวตน และติดตาม ผู้เรียนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาและเด็กตกหล่นกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาหรือประสานส่งต่อให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง
๒) “เฝ้าฟื้นฟู” ออกแบบมาตรการให้ความช่วยเหลือที่ตรงจุดร่วมกับโรงเรียน หน่วยงานราชการ และชุมชน รวมทั้งจัดทำแนวทางเพื่อส่งเสริมให้มีโอกาสกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาหรือโอกาส ในการพัฒนาด้านอื่น ๆ อาทิ การพัฒนาทักษะชีวิต การพัฒนาทักษะอาชีพ
๑.๒ จัดระบบวัดผลเทียบระดับการศึกษาและประเมินผลการศึกษา เพื่อส่งเสริมผู้ที่มี ความสามารถเป็นเลิศให้ได้รับคุณวุฒิการศึกษา เพื่อใช้ประโยชน์ในการเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นหรือการพัฒนาตนเองในด้านอื่น ๆ ต่อไป
๑.๓ สำรวจประชากรผู้ไม่รู้หนังสือ ประสานการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ชุมชนและหน่วยงานท้องถิ่นในการสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลพื้นฐานเพื่อนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาหลักสูตร และจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้หนังสือเพื่อลดอัตราการไม่รู้หนังสือของประชาชน (วัย ๑๕ ปีขึ้นไป) ให้เป็นไป ตามตัวชี้วัดของ IMD
๑.๔ ทบทวน ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และอื่น ๆ เพื่อให้การบริหารจัดการในการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
๑.๕ เร่งจัดทำกรอบ แผน อัตรากำลังของบุคลากรทุกประเภท ที่สอดคล้องกับโครงสร้าง กรมส่งเสริมการเรียนรู้ รวมทั้งจัดทำแผน OD Transition ครอบคลุมประเด็นที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบ ราชการ (ก.พ.ร.) ให้ข้อเสนอแนะ เพื่อให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามเป้าหมาย ที่กำหนด
๑.๖ พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน ที่สอดคล้องกับบริบทและภารกิจของกรมส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอก
๒. ด้านการสร้างโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้
๒.๑ “เรียนทุกที่ รู้ทุกเวลา” (Anywhere Anytime) ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมทั้งเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้จัดการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่านช่องทางเรียนรู้รูปแบบต่าง ๆ ทั้ง Online On-site และ On-air อาทิ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ห้องเรียนออนไลน์แอพพลิเคชั่น/แพลตฟอร์ม การเรียนรู้รวมถึงรายการวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
๒.๒ “อ่านได้ทุกที่ เข้าถึงได้ทุกคน” สร้างพื้นที่และกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเชิงรุก อย่างเป็นกระบวนการ พัฒนาห้องสมุดประชาชนให้มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอ่าน มีความพร้อม ในการบริการที่ทันสมัย พร้อมทั้งพัฒนารูปแบบส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ที่หลากหลาย อาทิ รถส่งเสริมการอ่าน เคลื่อนที่ รวมถึงห้องสมุดออนไลน์ บริการ e-Book เพื่อให้บริการกับประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างทั่วถึง และอาสาสมัครส่งเสริมการอ่านเพื่อสนับสนุนการสร้างเครือข่ายส่งเสริมการอ่าน
๒.๓ สร้างโอกาสให้คนทุกช่วงวัยเข้าถึงการศึกษาได้อย่างเท่าเทียมและมีคุณภาพ พร้อมพัฒนา ทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล และทักษะจำเป็นแห่งอนาคต (Future Skill)
๓. ด้านการยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้
๓.๑ พัฒนาระบบสะสมหน่วยการเรียนรู้ในธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank System) ที่สามารถเชื่อมโยงการศึกษาและการเรียนรู้ในทุกระดับและประเภท สร้างความคล่องตัวและเปิดทางเลือก ให้กับผู้เรียนทุกระดับ เพื่อประโยชน์ในการออกใบรับรองคุณวุฒิ/ใบรับรองความรู้ หรือการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพต่อไป
๓.๒ จัดให้มีระบบแนะแนวทางสำหรับผู้เรียน (Coaching) เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถวางแผนเส้นทางการศึกษาต่อหรือเส้นทางอาชีพที่สอดคล้องกับความถนัดและความสนใจของแต่ละบุคคล รวมทั้งสร้างแผนการเรียนรู้รายบุคคลที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)
๓.๓ “สกร. Learn to Earn” สร้างงาน สร้างรายได้ ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านหลักสูตรที่เน้นการปฏิบัติและการฝึกทักษะอาชีพที่สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้จริง โดยเน้นทักษะที่ตอบโจทย์ ตลาดแรงงาน อาทิ ทักษะดิจิทัล ทักษะด้านเทคโนโลยี การเกษตรสมัยใหม่ และงานบริการ ที่สอดคล้องกับ มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อให้ผู้เรียนมีสมรรถนะและนำความรู้ไปประกอบอาชีพและสร้างรายได้อย่างยั่งยืน
๓.๔ “DO-LE (ดูแล) Safety Zone” ส่งเสริมมาตรการความปลอดภัยให้กับผู้เรียน จัดให้มีระบบดูแล เฝ้าระวัง และเตือนภัย สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานความปลอดภัยในพื้นที่ รวมทั้งเฝ้าระวัง และประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
๓.๕ ๑ อำเภอ ๑ หน่วยจัดการเรียนรู้คุณภาพ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาหน่วยจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ อย่างน้อยอำเภอละ ๑ แห่ง รวมทั้งให้มีการพัฒนาหน่วยจัดการเรียนรู้ให้มีความพร้อมในการจัดและ ให้บริการการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมาตรฐาน
๓.๖ พัฒนาศูนย์วิทยาศาสตร์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้“STEM for HEALTH” ที่เน้นการเสริมสร้างความรู้ สร้างกระบวนการคิด และปลูกฝังเจตคติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ที่สามารถนำความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต พัฒนาอาชีพ ตลอดจน การรักษาสุขภาพกาย จิต และอารมณ์ควบคู่กันด้วย เพื่อให้มีความสามารถในการปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓.๗ จัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตามโครงการพระราชดำริและเสริมสร้างความมั่นคง ทั้งในพื้นที่พิเศษและพื้นที่ชายแดน โดยส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ การส่งเสริมการเรียนรู้ การฝึกและพัฒนาอาชีพสำหรับราษฎรไทยบริเวณชายแดน
๔. ด้านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
๔.๑ “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน” ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอก กระทรวงศึกษาธิการ อาทิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ ในการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ให้กับประชาชน เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
๔.๒ สร้างวิทยากรจากภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือปราชญ์ชาวบ้าน เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงไว้ โดยส่งเสริมกระบวนการจัดการเรียนรู้และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในชุมชน
๔.๓ ส่งเสริมให้ประชาชนมีนิสัยรักการเรียนรู้ ผ่านกลไกอาสาสมัครส่งเสริมการเรียนรู้ (อสกร.) เพื่อส่งเสริมการสร้างสภาพแวดล้อมของชุมชน ท้องถิ่น สังคม ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพอาสาสมัคร สกร.ในการขับเคลื่อนชุมชนในการปลูกฝังและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของประชาชน
๕. ด้านการพัฒนาประสิทธิภาพบุคลากรและระบบบริหารจัดการ
๕.๑ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคล
๑) ดูแลเรื่องสวัสดิการ สร้างขวัญและกำลังใจ และความก้าวหน้าให้กับบุคลากร อาทิ การประเมินวิทยฐานะ การโอน ย้าย และการลดภาระงาน
๒) พัฒนาขีดความสามารถและสมรรถนะของบุคลากรให้มีความพร้อมด้านวิชาการและ ทักษะที่เหมาะสมตามสายงาน ประเภท ระดับ และมาตรฐานตำแหน่ง
๕.๒ พัฒนาประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการ ภายใต้หลักการ “ถูกต้อง รวดเร็ว ประโยชน์ ประหยัด” วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของหน่วยงานร่วมกัน สร้างระบบการทำงานเป็นทีมที่เข้มแข็ง นำเทคโนโลยี ที่ทันสมัยมาใช้บริหารจัดการ ปรับลดภาระงานที่ไม่จำเป็นหรือซ้ำซ้อน มีแพลตฟอร์มหรือระบบข้อมูลสารสนเทศ รวมทั้งการจัดทำฐานข้อมูลการเรียนรู้ขนาดใหญ่ (Big Data) ในทุกมิติ เพื่อเป็นข้อมูลใช้ประกอบในการส่งเสริม การเรียนรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย
๕.๓ ส่งเสริมให้หน่วยงานและบุคลากรปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อเป็นการพัฒนา ระบบการบริหารงานของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพและลดโอกาสในการทุจริตและประพฤติมิชอบ
๕.๔ การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ โดยการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา เพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
๖. ข้อสั่งการและแนวปฏิบัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ)
๖.๑ ให้นำนโยบายด้านการศึกษาของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา และนโยบายของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ไปดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม (Action Plan)
๖.๒ ให้ยึดหลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงาน และดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริต อย่างเคร่งครัด เช่น การสอบ การบรรจุ แต่งตั้งโยกย้าย (ห้ามซื้อ-ขายตำแหน่ง) ห้ามทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุครุภัณฑ์ ชุดนักเรียน อาหารกลางวัน ฯลฯ
๖.๓ น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ
๖.๔ ให้ร่วมกันปลูกฝัง รักษาสิ่งแวดล้อมและมุ่งสู่การใช้พลังงานสะอาด
๖.๕ ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และการอ่านอย่างเป็นกระบวนการ โดยผู้บริหารและครูต้องเป็นต้นแบบ
๖.๖ การลงพื้นที่ตรวจราชการหรือตรวจเยี่ยม ให้ดำเนินการอย่างเรียบง่าย ให้เฉพาะผู้ที่มีหน้าที่ เกี่ยวข้องมาร่วมรับการตรวจราชการหรือตรวจเยี่ยม โดยให้มีการดำเนินการอย่างเรียบง่ายและประหยัด เช่น ไม่ต้อง ผูกผ้า ไม่ต้องติดป้ายต้อนรับ ไม่มีของที่ระลึกหรือของฝากใด ๆ ทั้งสิ้น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๗
(Personal Data Protection Policy)
…หน่วยงาน หรือ บริษัท... ขอประกาศเจตนารมณ์ในการมุ่งมั่นปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 และหลักเกณฑ์หรือข้อกําหนดตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วน บุคคลได้กําหนดมาตรการ ข้อปฏิบัติ ประกาศ หรือระเบียบปฏิบัติตามหน้าที่และอํานาจที่กฎหมายกําหนดทั้งในปัจจุบันและ อนาคต ให้ครอบคลุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
จึงได้จัดทํานโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วน (Personal Data Protection Policy) ฉบับนี้ขึ้นและถือเป็นส่วนหนึ่งใน การแจ้งสิทธิความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice) ให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบด้วย
ข้อมูลส่วนบุคคล
1.1 ลักษณะของข้อมูลส่วนบุคคล
ในเอกสารฉบับนี้
ข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง ข้อมูลใด ๆ ที่เกี่ยวกับบุคคลธรรมดาที่ทำให้สามารถระบุถึงตัวบุคคลธรรมดานั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยไม่รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถึงแก่กรรม
ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว หมายถึง ข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ (เช่น การสแกนลายนิ้วมือ การสแกนใบหน้า เป็นต้น) หรือข้อมูลอื่นใดซึ่งกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทำนองเดียวกันตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด
1.2 ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีการเก็บรวบรวม
หน่วยงาน หรือ บริษัท อาจมีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ดังต่อไปนี้
ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป:
หน่วยงาน หรือ บริษัท เคารพสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูล และตระหนักดีว่าเจ้าของข้อมูล ย่อมมีความประสงค์ที่จะได้รับความมั่นคงปลอดภัยเกี่ยวกับข้อมูลของตน ข้อมูลส่วนบุคคลที่หน่วยงาน หรือ บริษัท ได้รับมา จะถูกนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น โดยหน่วยงาน หรือ บริษัท มีมาตรการเข้มงวดในการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ตลอดจนการป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลจากเจ้าของข้อมูลโดยตรง และการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล หน่วยงาน หรือ บริษัท จะขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนหรือขณะทำการเก็บรวบรวม หากกฎหมายกำหนดให้ต้องขอความยินยอม และจะดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่จำเป็นตามวัตถุประสงค์ที่หน่วยงาน หรือ บริษัท ระบุไว้โดยแจ้งชัด
ทั้งนี้ หน่วยงาน หรือ บริษัท อาจรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับมาจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่จากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรง เช่น จากสื่อสาธารณะต่าง ๆ เฉพาะในกรณีที่มีความจำเป็นด้วยวิธีการตามที่กฎหมายกำหนด
หน่วยงาน หรือ บริษัท เก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
ทั้งนี้หากภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล หน่วยงาน หรือ บริษัท จะแจ้งให้ท่านทราบ และดำเนินการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงจัดให้มีบันทึกการแก้ไขเพิ่มเติมไว้เป็นหลักฐาน
หน่วยงาน หรือ บริษัท จะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเป็นระยะเวลาเท่าที่จำเป็นเพื่อวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งได้ระบุไว้ในคำประกาศฉบับนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ใช้กำหนดระยะเวลาเก็บ ได้แก่ ระยะเวลาที่หน่วยงาน หรือ บริษัท ยังมีความสัมพันธ์กับท่านในฐานะผู้ติดต่อ หรือ การประสานงาน หรือตามกฎหมาย หรือการยกขึ้นต่อสู้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย หรือเพื่อเหตุอื่นตามนโยบายและข้อกำหนดภายในของหน่วยงาน หรือ บริษัท
ในกรณีที่ไม่สามารถระบุระยะเวลาการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลได้ชัดเจน หน่วยงาน หรือ บริษัท จะเก็บรักษาข้อมูลไว้ตามระยะเวลาที่อาจคาดหมายได้ตามมาตรฐานของการเก็บรวบรวม (เช่น อายุความตามกฎหมายทั่วไปสูงสุด 10 ปี)
หน่วยงาน หรือ บริษัท กำหนดให้มีมาตรการที่เหมาะสม และเข้มงวดในการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ตามนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงาน หรือ บริษัท เพื่อป้องกันการสูญหาย การเข้าถึง ทำลาย ใช้ แปลง แก้ไขหรือมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้โดยไม่มีสิทธิหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในฐานะที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลท่านมีสิทธิตามที่กำหนดไว้โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 รวมถึงสิทธิต่าง ๆ ดังนี้
หน่วยงาน หรือ บริษัท อาจมีความจำเป็นในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้แก่หน่วยงาน หรือ บริษัท ในกลุ่ม หรือบุคคลหรือหน่วยงานอื่นที่เป็นพันธมิตรซึ่งทำงานร่วมกับหน่วยงาน หรือ บริษัท ในการให้บริการในรูปแบบต่าง ๆ หรือตามความจำเป็นตามสมควรในการบังคับใช้ข้อกำหนดและเงื่อนไขของหน่วยงาน หรือ บริษัท หรือกรณีที่มีการปรับโครงสร้างองค์กร การควบรวมหน่วยงาน หรือ บริษัท และอาจมีการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้กับหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานภาครัฐตามข้อบังคับของกฎหมายหรือตามคำสั่งศาลหรือตามคำสั่งเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ โดยข้อมูลส่วนบุคคลจะได้รับการเก็บรักษาเป็นความลับ ทั้งในรูปเอกสารและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งในระหว่างการส่งผ่านข้อมูลทุกขั้นตอน
หน่วยงาน หรือ บริษัท ได้มีการดำเนินการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 โดยมีเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบการดำเนินการของบริษัทที่เกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ในกรณีที่มีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน โปรดติดต่อหน่วยงาน หรือ บริษัท ได้ตามช่องทางดังต่อไปนี้
ชื่อหน่วยงาน
สถานที่ติดต่อ: ...
เบอร์โทรศัพท์: ...
หน่วยงาน หรือ บริษัท จะทำการพิจารณาทบทวนเงื่อนไขนโยบายหน่วยงาน หรือ บริษัท ฉบับนี้เป็นครั้งคราว เพื่อให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหน่วยงาน หรือ บริษัท จะแจ้งให้ทราบด้วยการเผยแพร่ผ่านการประกาศที่เหมาะสมของหน่วยงาน หรือ บริษัท